โครงการวิจัย

ผลป้องกันฟันผุของการใช้เจลข้าวฟลูออไรด์


รายละเอียดงานวิจัย


การเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจไม่มีการบังคับ กลุ่มตัวอย่าง (นักศึกษา) มีความอิสระและสมรรถภาพในการพิจารณาในการตัดสินใจด้วยตนเอง หากมีปัญหาหรือข้อขัดข้อง อาสาสมัครสามารถตัดสินใจที่จะไม่เข้าร่วมโครงการ หรือถอนตัวออกจากโครงการเมื่อตามแต่สมควร ในกรณีอาสาสมัครได้รับบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับโครงการ อาสาสมัครจะได้รับการดูแลรักษาโดยทันที

การใช้อะซิดูเลตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจล ความเข้มข้นร้อยละ 1.23 นั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นประโยชน์ สามารถป้องกันฟันผุ ฟลูออไรด์ชนิดอะซิดูเลตฟอสเฟตฟลูออไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 1.23 ที่ใช้อยู่ในประเทศไทย ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศเป็นผลให้ต้นทุนสูง ด้วยเหตุนี้ คณะเภสัชศาสตร์จึงได้ร่วมกันคณะทันตแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ร่วมกันพัฒนาฟลูออไรด์เจล ขึ้นโดยมีสารสกัดข้าวเป็นส่วนประกอบ

การศึกษาฉบับนี้เป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อทดสอบประสิทธิภาพป้องกันฟันผุของฟลูออไรด์เจลในกลุ่มนักศึกษา เพื่อศึกษาผลป้องกันฟันผุทางคลินิกและเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์เจลข้าวฟลูออไรด์ เจลข้าวอะซิดูเลตฟอสเฟตฟลูออไรด์ดังกล่าวได้ถูกทดสอบประสิทธิภาพต่อตัวฟันภายใต้สภาวะจำลองฟันผุ พบว่าสามารถต้านฟันผุอย่างมีนัยสำคัญใกล้เคียงกับฟลูออไรด์เจลทางการค้าที่มีขายในท้องตลาด งานวิจัยนี้ผ่านการรับรองโครงการศึกษาวิจัยในมนุษย์โดยคณะกรรมการพิทักษิ์สิทธิ์สวัสดิภาพและป้องกันภยันตรายของผู้ถูกวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เอกสารเลขที่ 19/2564 เมื่อวันที่ 25 มีนายม พ.ศ. 2564

ระเบียบการวิจัย


การศึกษานี้วัดประสิทธิภาพของฟลูออไรด์ต่อตัวบุคคลในการป้องกันฟันผุที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยดัชนี DMFS ตามมาตรฐานการวัดประสิทธิภาพของฟลูออไรด์ อาสาสมัครแต่ละคนต้องมาพบทันตแพทย์ทั้งหมด 5 ครั้ง (ทุก 6 เดือน) ในช่วงระยะเวลาการศึกษา 24 เดือน กระบวนการพบแต่ละครั้งจะใช้เวลา 20-30 นาที มีกระบวนการโดยคร่าวคือ

  • ทำความสะอาดฟัน
  • ประเมินความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ
  • ตรวจฟันผุ ถ่ายภาพรังสี
  • เคลือบเจลฟลูออไรด์

  • การเข้าร่วมโครงการไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใด ๆ และอาสาสมัครจะได้รับค่าตอบแทนครั้งละ 200 บาท ทั้งหมด 5 ครั้งเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จากลำดับโครงการวิจัยโดยย่อ และกรอบแนวคิดงานวิจัยที่ได้แนบรูปมาด้วยข้างใต้

    research steps research framework

    บันทึกเพื่อดูภาพความละเอียดสูง

    ความปลอดภัยของข้อมูล


  • ข้อมูลความเป็นส่วนตัวของท่าน ชื่อ นามสกุล หรือเลขระบุตัวบุคคลใด ๆ จะไม่ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะในลักษณะที่สามารถติดตามย้อนกลับไปยังตัวท่าน การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอาสาสมัครต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กระทำได้เฉพาะกรณีจำเป็นด้วยเหตุผลทางวิชาการเท่านั้น
  • เว็บไซด์ป้องกันการโจรกรรมข้อมูลโดยเชื่อมต่อผ่านโปรโตคอล SSL (HTTPS) และป้องกันการโจมตีเว็บไซด์ด้วยบริการจาก Cloudflare
  • ข้อมูลที่เก็บในฐานข้อมูลของอาสาสมัคร มีเพียงข้อมูลพื้นฐาน คือ รหัสประจำตัวนักศึกษา ชื่อจริง วันเดือนปีเกิด และเบอร์โทรศัพท์
  • ผลการตรวจฟันมีเพียงรูปภาพและผลฟันผุ ไม่มีข้อมูลส่วนตัวของอาสาสมัคร
  • วิธีการใช้งานหน้าเว็บ


    ติดต่อผู้ทำวิจัย


    author


    ทพ. ชวลิต ชนินทรสงขลา

  • กำลังศึกษาต่อศึกษาต่อระดับชั้นปริญญาโท คณะทันตแพทยศาสตร์ มช.
  • สำเร็จการศึกษาระดับชั้นปริญญาโท คณะวิทยาการข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์ มช.
  • กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มช.
  • สถานที่ทำงาน ภาควิชาทันตกรรมครอบครัวและชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • โทรศัพท์ O81-3522632
  • อีเมล chawalit_c@cmu.ac.th, chawalit.bijk@gmail.com